โลกของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันของนักเรียนประถม
นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 เริ่มเรียนการพัฒนา Homepage เพราะครูเริ่มบรรจุ เข้าไปในหลักสูตร หลาย ๆ คนเริ่มเขียน CGI และคิดดูสิครับ อีก 6 ปี จึงจะจบมัธยมปลาย และอีก 4 ปีกว่าจะสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา นักเรียนประถมเหล่านี้มีเวลาถึง 10 ปี ที่จะก้าวสู่โลกของนักคอมพิวเตอร์ เมื่อหันกลับมามองตัวเราว่า เรามีเวลาศึกษาหาความรู้อีกเท่าใด และมีปัจจัยอะไรส่งเสริม ให้เราเรียนรู้ เทคโนโลยีรอบตัวเราอยู่บ้าง (หลายคนอาจไม่มีเหตุผลที่จะเรียนรู้) หรือจะรอให้เด็กรุ่นหลัง มาบอกว่า เราควรจะเรียนรู้อะไรต่อไป จึงจะเป็นนักคอมพิวเตอร์ในสังคม เทคโนโลยี ในอีก 10 ปีข้างหน้าได้ .. ผมคงเป็นคนหนึ่งที่จะไม่รอเวลานั้น แต่จะขอก้าวไปพร้อม กับเทคโนโลยี ด้วยการเรียนรู้ทุกอย่างรอบตัว เท่าที่จะทำได้ .. เพราะรู้ว่าพัฒนาการของเด็กประถมนั้น เร็วเพียงใด
หลาย ๆ คน ถามว่าเราต้องเรียนรู้ทุกอย่างเลยหรือ? คงเป็นไปไม่ได้ที่จะศึกษาทุกอย่าง ผมเองก็เป็นผู้เรียนรู้ และศึกษาหลาย ๆ เรื่อง สิ่งที่ผมศึกษา คือสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้ และไม่ยากจนเกินไป หากจะแนะนำท่านว่า จะศึกษาเรื่องอะไรดี ก็คงต้องบอกว่า ศึกษาทุกเรื่องที่ท่านสนใจ ที่มีแหล่งให้ศึกษาหาความรู้ได้โดยง่าย
มีเรื่องราวต่าง ๆ ที่น่าศึกษามากมาย (เพื่อเตรียมตัวไว้ให้พร้อมกับ 10 ปีข้างหน้า .. ส่วนผมกำลังศึกษาอยู่ครับ) เช่น
- เขียนเว็บเพจ ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์เช่น html, perl, php, asp, asp.net, jsp, ruby, mysql เป็นต้น
- ศึกษาโปรแกรมประยุกต์ให้มากที่สุด เพื่อนำมาประยุกต์ในเหตุการณ์ที่เหมาะสม (ถ้าพัฒนาทุกโปรแกรม .. คงเป็นเรื่องยาว)
- ศึกษาการสร้างภาพ Graphic ด้วยโปรแกรม เช่น Photoshop, Animation 3D หรือ 3D studio เป็นต้น
- ศึกษา OS ทุกตัวที่มีโอกาส เพื่อหาจุดเด่น มาใช้ประโยชน์ เช่น Windows, Mac, Linux เป็นต้น
- บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวเอง หรือเรื่องรอบตัว เพราะไม่มีใครจดจำทุกอย่าง ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้หมด
- ศึกษาภาษาต่าง ๆ เช่น VB, Java, Delphi, C, Fox.., Pascal, Cobol, Qbasic, Clipper, Assembly, RPG เป็นต้น
- ศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Video conference, Voice mail, Real media server, Service server, E-Commerce เป็นต้น
- ศึกษา Hardware อย่างน้อย เปลี่ยน harddisk เป็นก็ยังดี เช่น ซ่อมถอดประกอบเครื่อง รู้จักใช้อุปกรณ์ และ Hardware ใหม่
4.1 คอมพิวเตอร์ช่วยในการแข่งขันได้อย่างไร เรียบเรียงจาก คอมพิวเตอร์หนึ่งนาที หน้า 24 โดย อ.ครรชิต มาลัยวงศ์ 1. เพื่อภาพพจน์ ว่าเป็นองค์กรที่ก้างหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย 2. เพิ่มปริมาณ และคุณภาพของการผลิต 3. เพิ่มบริการทั้งด้านเวลา และสถานที่ 4. เพิ่มจำนวนลูกค้า และการซื้อขาย 5. เพิ่มสมรรถนะในการตัดสินใจของผู้บริหาร
ในระหว่างที่โลกของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว ทางด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ก็มีวิวัฒนาการของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยปราศจากข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลที่วิ่งบนเครือข่ายเช่นกัน โลกของการใช้คอมพิวเตอร์ในวันนี้จึงกำลังจะก้าวไปสู่รูปแบบการเชื่อมโยงข้อมูลจากหลาย ๆ ที่และในเวลาเดียวกันด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ผ่านอินเตอร์เน็ต และนำงานหลายร้อยงานมาวิ่งในเครื่องเหล่านั้น เทคโนโลยีที่กำลังกล่าวถึงนี้ ถูกเรียกว่า “Cloud Computing (คลาวด์ คอมพิวติ้ง)” ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากที่ใดก็ได้ในโลก …
แนวความคิดของ คลาวด์ คอมพิวติ้ง เป็นการเข้าใช้บริการจากระบบคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่กระจายการให้บริการอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านตัวกลางคือบราวน์เซอร์ (Browser) โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องลงทุนมากมายในการจัดการทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที จุดเด่นของคลาวด์ คอมพิวติ้ง คือ การให้บริการตามความต้องการของผู้ใช้และคิดค่าบริการตามที่ใช้งานจริง หรือที่เรียกว่า On Demand โดยผู้ใช้บริการสามารถล็อกอิน (Login) เพื่อขอใช้บริการจากระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งของผู้ให้บริการ ผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องมือเชื่อมต่อต่าง ๆ จึงนับว่าเป็นการลดต้นทุนทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ค่าลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ทางด้านไอที ตัวอย่างเช่น กลุ่มผู้ใช้งานที่มีความต้องการในการใช้งานที่ไม่เท่ากัน จะช่วยให้ประหยัดด้านการลงทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การใช้งาน (Multi-Tenancy) รวมถึงช่วยลดภาระการจ้างบุคลากรผู้ดูแลระบบ เพราะคลาวด์ คอมพิวติ้งได้รับการออกแบบการบริการให้มีความยืดหยุ่นสามารถจัดการหรือปรับเปลี่ยนคุณสมบัติได้ง่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน
ด้วยประโยชน์ของการใช้บริการบนเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง นี้เอง ทำให้ปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ หันมาให้ความสนใจและนำคลาวด์ คอมพิวติ้งไปประยุกต์ปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตน จากบริการบนระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งที่มีอยู่อย่างหลากหลาย เช่น บริการเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือน พร้อมพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Infrastructure as a service) บริการซอฟต์แวร์ออนไลน์นานาชนิด (Software as a service) ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรไอทีขนาดใหญ่มาก เป็นต้น ซอฟต์แวร์ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS: Geographic Information System) ก็เป็นซอฟต์แวร์หนึ่งที่ก้าวไปอย่างควบคู่กับกระแสการเปลี่ยนแปลงหรือเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งเนื่องด้วย GIS เป็นระบบสารสนเทศอีกประเภทที่ซอฟต์แวร์ต้องการการประมวลผลแบบขั้นสูง และต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงมาทำการประมวลผลและใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่มีจำนวนมากและมีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน จึงต้องมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีค่อนข้างสูง ดังนั้น คลาวด์ คอมพิวติ้ง จึงเป็นอีกเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการเข้าถึง GIS ได้ง่ายขึ้น ด้วยการลงทุนที่ไม่มาก
การบริการ GIS ในระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง ได้เปิดให้บริการทั้งในส่วนซอฟต์แวร์ประมวลผล โครงสร้างพื้นฐานด้านไอที และแอพพลิเคชั่น โดยผู้ใช้งานสามารถขอใช้บริการได้ตามความต้องการและความเหมาะสม (On Demand) ทั้งยังมีความยืดหยุ่นและสามารถเชื่อมโยงระบบ GIS เข้ากับระบบสารสนเทศที่ใช้ภายในหน่วยงานให้สามารถทำงานร่วมกันได้ นอกจากนี้ GIS ในคลาวด์ คอมพิวติ้ง จะยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณค่าการทำงานให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย เช่น ด้วยความสามารถของซอฟต์แวร์ ArcGIS 10 ผู้ใช้บริการจะสามารถเช่าหรือใช้บริการเพื่อค้นหาหรือแบ่งปันข้อมูลแผนที่ รวมทั้งบริการอื่น ๆ ผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น และจากคุณสมบัติของ GIS คลาวด์ คอมพิวติ้ง นี้เอง ทำให้เกิดกลุ่มผู้ใช้บริการใหม่ที่เป็นหน่วยงานขนาดกลางถึงขนาดเล็กและบุคคลทั่วไป ทั้งยังเปลี่ยนรูปแบบการส่งข้อมูลรูปแบบใหม่ให้เกิดขึ้นได้ในทุกที่ทุกเวลาโดยผู้ใช้งานที่เป็นบุคคลทั่วไปเป็นผู้ส่งข้อมูลมายังส่วนกลาง
การพัฒนาเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งในวันนี้ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ทรัพยากรของโลกที่ต้องการแชร์ทุกอย่างร่วมกันเพื่อให้เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่า ทั้งยังสามารถแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เนื่องด้วยราคาซอฟต์แวร์ที่ค่อนข้างสูง และปัญหาความต้องการใช้งานซอฟต์แวร์เพียงไม่กี่ฟังก์ชั่น การใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ที่มีโครงสร้างการประมวลผลขนาดใหญ่ด้วยการแบ่งปันทรัพยากรในการประมวลผลร่วมกันบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถรองรับการใช้งานของผู้ใช้จำนวนมากบนเครือข่ายผ่านบราวน์เซอร์ และผู้ใช้งานจ่ายค่าบริการการใช้หน่วยประมวลผลตามการใช้งานจริง คอมพิวเตอร์จึงเป็นเสมือนโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่องค์กรหรือหน่วยงานสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ได้โดยไร้ข้อจำกัด
จากการที่ตัวผมได้ศึกษาคำว่า“สื่อใหม่(New media)” คือ สื่อต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากที่มีสื่อหลัก สื่อหลักที่ว่าก็คือ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือพิมพ์ และวารสารต่างๆ แต่ในปัจจุบันในยุคของคอมพิวเตอร์ยุคของโลกดิจิตอล เราจะพบว่ามีการก้าวไปสู่สื่อประเภทอื่นๆ เช่น สื่อบรอดแบรนด์ ด้วยการนำเสนอเนื้อหาสาระข่าวสารต่างๆ ที่เดิมต้องรับชมเฉพาะจากโทรทัศน์ แต่ปัจจุบันสามารถรับชมผ่านทางคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือได้ทั่วโลก ด้วยการเชื่อมโยงของระบบอินเทอร์เน็ต และการถ่ายทอดสัญญาณผ่านทางดาวเทียม ที่สามารถให้ผู้รับเลือกชมเนื้อหาต่างๆ ตามวันเวลาได้ตรงตามความต้องการที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นก็คือการส่ง SMS และ MMS จำพวก ringtone ข่าวสารโปรโมชั่นต่างๆ การร่วมสนุกด้วยการ SMS เข้ามาตามรายการโทรทัศน์ต่างๆ ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าเป็นสื่อที่เล็ก แต่แนวโน้มจากนี้ไป ความสำคัญของสื่อใหม่ก็จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี มูลค่าตลาดของสื่อใหม่จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เช่น มูลค่าสื่อใหม่ในประเทศไต้หวันปีหนึ่งนั้นมีสูงถึงกว่าแสนล้านบาท นั่นหมายความว่ามีมูลค่ามากกว่าค่าโฆษณาทางโทรทัศน์ในประเทศไทย (อาจารย์อนุสรณ์ ศรีแก้ว คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต)
แต่หากจะตอบคำถามนี้ได้อย่างสมบูรณ์คงต้องคงต้องทราบความหมายของคำว่า “หลังสมัยใหม่ (Postmodernism)” ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ได้ อย่างสมบูรณ์
“หลังสมัยใหม่ (Postmodernism)” เพื่อให้พอมีความรู้มาตอบคำถามนี่ได้นั้น ทำให้ผมพอเข้าใจได้ว่า “หลังสมัยใหม่ (Postmodernism)” คือสิ่งที่ “มากกว่า เหนือกว่า” แบบแผนหรือว่าอุดมการณ์โดยทั่วไป ทำให้เป็นสิ่งที่ขาดซึ่งระบบแบบแผน โครงสร้างที่ชัดเจนแน่นอน ขาดซึ่งเป้าหมายไม่มีหลักการที่ตายตัวของมันเอง โดยเน้นใช้หลักจากความรู้สึกมากกว่าหลักการของเหตุผล แต่ความหมายดังกล่าวนี้เป็นเพียงความเข้าใจเพียงเสี่ยวหนึ่งของความหมายที่หลากหลายที่มีผู้เชี่ยวชาญต่างๆได้
จากการศึกษาของความหมายของคำทั้งสองทำให้ทราบได้ว่า สื่อใหม่(New media) มีคุณสมบัติแบบหลังสมัยใหม่ (Postmodernism) อย่างแท้จริงเนื่องจาก สื่อใหม่ (New media) เป็นสื่อที่ไม่มีโครงสร้าง พื้นฐานตายตัวที่แน่นอน เป็นสื่อที่ไม่สามารถใช้วีใด วิธีหนึ่งในการควบคุมดูแล หรือจัดการสร้างมัน มีสภาวะคล้ายกับสภาวะจำลอง เช่นการโพสข้อความลงในเว็บบอร์ดต่างๆโดยไม่สามารถทราบถึงตัวตนที่แท้จริงได้ โดยสามารถแสร้งเป็นตัวตนอีกลักษณะหนึ่งที่ไม่ใช้ตัวตนในสังคมได้ รวมทั้งสื่อใหม่ (New media)เป็นสื่อที่ขาดซึ่งเป้าหมายที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับแต่ละสื่อแต่ละเจ้าของที่มีความแตกต่างหลากหลายมาก เป็นต้น
คำตอบดังกล่าวนั้นอาจจะเป็นคำตอบในเชิงของแขนงการสื่อสารเพียงเท่านั้น แต่หากจะไปเปลี่ยนเทียบกับแขนงอื่นๆนั้น อาจะแตกต่างจากที่ผมตอบก็เป็นไปได้
โลกยุคการสื่อสารไร้พรมแดนในปัจจุบัน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทมากมายในชีวิตประจำวัน เราสามารถฝากถอนเงินสดกันได้มากยิ่งขึ้นโดยผ่านระบบ ATM แทนที่จะต้องเดินไปทำรายการยังธนาคารโดยตรงแบบสมัยก่อน การซื้อตั๋วหนังผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่หือรับจ่ายสินค้าบนอินเทอร์เน็ตที่มีให้เห็นกันจนชินตา ระบบการจัดการสำนักงานยุคใหม่ที่นำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เสมือนเป็นสำนักงานอัตโนมัติ มีการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันหลายสาขา ผู้บริหาร และพนักงานที่เกี่ยวข้องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อตัดสินใจดำเนินการได้อย่างทันท่วงที สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นแนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเป็นไปอย่างขยายตัวและนับวันเพิ่มมากขึ้น
คอมพิวเตอร์ ถือเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกันอย่างแพร่หลาย ในสมัยก่อนรูปร่างของคอมพิวเตอร์จะไม่เหมือนเครื่องพีซีที่เราเห็นในปัจจุบันนี้ ขนาดของคอมพิวเตอร์ในยุคนั้นค่อนข้างใหญ่ และมีน้ำหนักมาก การพกพาไปไหนมาไหนจึงไม่สะดวกนัก จึงนิยมใช้กันตามห้องปฏิบัติการใหญ่ๆหรือทำสงครามเป็นหลัก แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการเล็งเห็นประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ในกลุ่มผู้ใช้งานที่มีมากขึ้น จึงส่งผลให้ความนิยมมีมากขึ้นเป็นลำดับ จากอุปกรณ์ขนาดใหญ่มหึมา ได้มีการปรับเปลี่ยนให้มีขนาดเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด ความสามารถในการพกพาที่ง่ายก็เป็นอีกคุณสมบัติหนึ่ง ที่พบได้ในคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อีกทั้งระดับราคาก็ปรับตัวลงไปอย่างมาก สมัยก่อนคนที่จะมีคอมพิวเตอร์ต้องมีฐานะค่อนข้างดีพอสมควร หรือไม่ก็จะพบเห็นตามห้างร้านหรือบริษัทเพียงเท่านั้น เมื่อระดับราคาปรับตัวลดลง กลุ่มผู้ใช้จึงขยายวงกว้างมากขึ้น และแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน
ประกอบกับเทคโนโลยีของการสื่อสารและโทรคมนาคมที่ขยายตัวมากยิ่งขึ้น บทบาทการใช้งานคอมพิวเตอร์จึงได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้ จากเดิมที่คนใช้อยู่ในกลุ่มเล็กๆ ก็เริ่มมีการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันมากขึ้น มีการเริ่มใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย ข้อมูลสามารถเชื่อมถึงกันได้แค่ปลายนิ้วสัมผัส การติดต่อสื่อสารทำได้แบบไร้พรมแดน ผู้ใช้อีกซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้อีกซีกโลกหนึ่งได้อย่างง่ายดาย ก่อให้เกิดสารสนเทศที่มีประโยชน์มากมายมหาศาล
นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 เริ่มเรียนการพัฒนา Homepage เพราะครูเริ่มบรรจุ เข้าไปในหลักสูตร หลาย ๆ คนเริ่มเขียน CGI และคิดดูสิครับ อีก 6 ปี จึงจะจบมัธยมปลาย และอีก 4 ปีกว่าจะสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา นักเรียนประถมเหล่านี้มีเวลาถึง 10 ปี ที่จะก้าวสู่โลกของนักคอมพิวเตอร์ เมื่อหันกลับมามองตัวเราว่า เรามีเวลาศึกษาหาความรู้อีกเท่าใด และมีปัจจัยอะไรส่งเสริม ให้เราเรียนรู้ เทคโนโลยีรอบตัวเราอยู่บ้าง (หลายคนอาจไม่มีเหตุผลที่จะเรียนรู้) หรือจะรอให้เด็กรุ่นหลัง มาบอกว่า เราควรจะเรียนรู้อะไรต่อไป จึงจะเป็นนักคอมพิวเตอร์ในสังคม เทคโนโลยี ในอีก 10 ปีข้างหน้าได้ .. ผมคงเป็นคนหนึ่งที่จะไม่รอเวลานั้น แต่จะขอก้าวไปพร้อม กับเทคโนโลยี ด้วยการเรียนรู้ทุกอย่างรอบตัว เท่าที่จะทำได้ .. เพราะรู้ว่าพัฒนาการของเด็กประถมนั้น เร็วเพียงใด
หลาย ๆ คน ถามว่าเราต้องเรียนรู้ทุกอย่างเลยหรือ? คงเป็นไปไม่ได้ที่จะศึกษาทุกอย่าง ผมเองก็เป็นผู้เรียนรู้ และศึกษาหลาย ๆ เรื่อง สิ่งที่ผมศึกษา คือสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้ และไม่ยากจนเกินไป หากจะแนะนำท่านว่า จะศึกษาเรื่องอะไรดี ก็คงต้องบอกว่า ศึกษาทุกเรื่องที่ท่านสนใจ ที่มีแหล่งให้ศึกษาหาความรู้ได้โดยง่าย
- เขียนเว็บเพจ ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์เช่น html, perl, php, asp, asp.net, jsp, ruby, mysql เป็นต้น
- ศึกษาโปรแกรมประยุกต์ให้มากที่สุด เพื่อนำมาประยุกต์ในเหตุการณ์ที่เหมาะสม (ถ้าพัฒนาทุกโปรแกรม .. คงเป็นเรื่องยาว)
- ศึกษาการสร้างภาพ Graphic ด้วยโปรแกรม เช่น Photoshop, Animation 3D หรือ 3D studio เป็นต้น
- ศึกษา OS ทุกตัวที่มีโอกาส เพื่อหาจุดเด่น มาใช้ประโยชน์ เช่น Windows, Mac, Linux เป็นต้น
- บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวเอง หรือเรื่องรอบตัว เพราะไม่มีใครจดจำทุกอย่าง ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้หมด
- ศึกษาภาษาต่าง ๆ เช่น VB, Java, Delphi, C, Fox.., Pascal, Cobol, Qbasic, Clipper, Assembly, RPG เป็นต้น
- ศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Video conference, Voice mail, Real media server, Service server, E-Commerce เป็นต้น
- ศึกษา Hardware อย่างน้อย เปลี่ยน harddisk เป็นก็ยังดี เช่น ซ่อมถอดประกอบเครื่อง รู้จักใช้อุปกรณ์ และ Hardware ใหม่
มีเรื่องราวต่าง ๆ ที่น่าศึกษามากมาย (เพื่อเตรียมตัวไว้ให้พร้อมกับ 10 ปีข้างหน้า .. ส่วนผมกำลังศึกษาอยู่ครับ) เช่น
ในระหว่างที่โลกของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว ทางด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ก็มีวิวัฒนาการของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยปราศจากข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลที่วิ่งบนเครือข่ายเช่นกัน โลกของการใช้คอมพิวเตอร์ในวันนี้จึงกำลังจะก้าวไปสู่รูปแบบการเชื่อมโยงข้อมูลจากหลาย ๆ ที่และในเวลาเดียวกันด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ผ่านอินเตอร์เน็ต และนำงานหลายร้อยงานมาวิ่งในเครื่องเหล่านั้น เทคโนโลยีที่กำลังกล่าวถึงนี้ ถูกเรียกว่า “Cloud Computing (คลาวด์ คอมพิวติ้ง)” ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากที่ใดก็ได้ในโลก …
แนวความคิดของ คลาวด์ คอมพิวติ้ง เป็นการเข้าใช้บริการจากระบบคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่กระจายการให้บริการอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านตัวกลางคือบราวน์เซอร์ (Browser) โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องลงทุนมากมายในการจัดการทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที จุดเด่นของคลาวด์ คอมพิวติ้ง คือ การให้บริการตามความต้องการของผู้ใช้และคิดค่าบริการตามที่ใช้งานจริง หรือที่เรียกว่า On Demand โดยผู้ใช้บริการสามารถล็อกอิน (Login) เพื่อขอใช้บริการจากระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งของผู้ให้บริการ ผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องมือเชื่อมต่อต่าง ๆ จึงนับว่าเป็นการลดต้นทุนทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ค่าลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ทางด้านไอที ตัวอย่างเช่น กลุ่มผู้ใช้งานที่มีความต้องการในการใช้งานที่ไม่เท่ากัน จะช่วยให้ประหยัดด้านการลงทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การใช้งาน (Multi-Tenancy) รวมถึงช่วยลดภาระการจ้างบุคลากรผู้ดูแลระบบ เพราะคลาวด์ คอมพิวติ้งได้รับการออกแบบการบริการให้มีความยืดหยุ่นสามารถจัดการหรือปรับเปลี่ยนคุณสมบัติได้ง่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน
ด้วยประโยชน์ของการใช้บริการบนเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง นี้เอง ทำให้ปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ หันมาให้ความสนใจและนำคลาวด์ คอมพิวติ้งไปประยุกต์ปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตน จากบริการบนระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งที่มีอยู่อย่างหลากหลาย เช่น บริการเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือน พร้อมพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Infrastructure as a service) บริการซอฟต์แวร์ออนไลน์นานาชนิด (Software as a service) ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรไอทีขนาดใหญ่มาก เป็นต้น ซอฟต์แวร์ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS: Geographic Information System) ก็เป็นซอฟต์แวร์หนึ่งที่ก้าวไปอย่างควบคู่กับกระแสการเปลี่ยนแปลงหรือเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งเนื่องด้วย GIS เป็นระบบสารสนเทศอีกประเภทที่ซอฟต์แวร์ต้องการการประมวลผลแบบขั้นสูง และต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงมาทำการประมวลผลและใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่มีจำนวนมากและมีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน จึงต้องมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีค่อนข้างสูง ดังนั้น คลาวด์ คอมพิวติ้ง จึงเป็นอีกเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการเข้าถึง GIS ได้ง่ายขึ้น ด้วยการลงทุนที่ไม่มาก
การบริการ GIS ในระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง ได้เปิดให้บริการทั้งในส่วนซอฟต์แวร์ประมวลผล โครงสร้างพื้นฐานด้านไอที และแอพพลิเคชั่น โดยผู้ใช้งานสามารถขอใช้บริการได้ตามความต้องการและความเหมาะสม (On Demand) ทั้งยังมีความยืดหยุ่นและสามารถเชื่อมโยงระบบ GIS เข้ากับระบบสารสนเทศที่ใช้ภายในหน่วยงานให้สามารถทำงานร่วมกันได้ นอกจากนี้ GIS ในคลาวด์ คอมพิวติ้ง จะยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณค่าการทำงานให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย เช่น ด้วยความสามารถของซอฟต์แวร์ ArcGIS 10 ผู้ใช้บริการจะสามารถเช่าหรือใช้บริการเพื่อค้นหาหรือแบ่งปันข้อมูลแผนที่ รวมทั้งบริการอื่น ๆ ผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น และจากคุณสมบัติของ GIS คลาวด์ คอมพิวติ้ง นี้เอง ทำให้เกิดกลุ่มผู้ใช้บริการใหม่ที่เป็นหน่วยงานขนาดกลางถึงขนาดเล็กและบุคคลทั่วไป ทั้งยังเปลี่ยนรูปแบบการส่งข้อมูลรูปแบบใหม่ให้เกิดขึ้นได้ในทุกที่ทุกเวลาโดยผู้ใช้งานที่เป็นบุคคลทั่วไปเป็นผู้ส่งข้อมูลมายังส่วนกลาง
การพัฒนาเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งในวันนี้ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ทรัพยากรของโลกที่ต้องการแชร์ทุกอย่างร่วมกันเพื่อให้เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่า ทั้งยังสามารถแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เนื่องด้วยราคาซอฟต์แวร์ที่ค่อนข้างสูง และปัญหาความต้องการใช้งานซอฟต์แวร์เพียงไม่กี่ฟังก์ชั่น การใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ที่มีโครงสร้างการประมวลผลขนาดใหญ่ด้วยการแบ่งปันทรัพยากรในการประมวลผลร่วมกันบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถรองรับการใช้งานของผู้ใช้จำนวนมากบนเครือข่ายผ่านบราวน์เซอร์ และผู้ใช้งานจ่ายค่าบริการการใช้หน่วยประมวลผลตามการใช้งานจริง คอมพิวเตอร์จึงเป็นเสมือนโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่องค์กรหรือหน่วยงานสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ได้โดยไร้ข้อจำกัด
จากการที่ตัวผมได้ศึกษาคำว่า“สื่อใหม่(New media)” คือ สื่อต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากที่มีสื่อหลัก สื่อหลักที่ว่าก็คือ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือพิมพ์ และวารสารต่างๆ แต่ในปัจจุบันในยุคของคอมพิวเตอร์ยุคของโลกดิจิตอล เราจะพบว่ามีการก้าวไปสู่สื่อประเภทอื่นๆ เช่น สื่อบรอดแบรนด์ ด้วยการนำเสนอเนื้อหาสาระข่าวสารต่างๆ ที่เดิมต้องรับชมเฉพาะจากโทรทัศน์ แต่ปัจจุบันสามารถรับชมผ่านทางคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือได้ทั่วโลก ด้วยการเชื่อมโยงของระบบอินเทอร์เน็ต และการถ่ายทอดสัญญาณผ่านทางดาวเทียม ที่สามารถให้ผู้รับเลือกชมเนื้อหาต่างๆ ตามวันเวลาได้ตรงตามความต้องการที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นก็คือการส่ง SMS และ MMS จำพวก ringtone ข่าวสารโปรโมชั่นต่างๆ การร่วมสนุกด้วยการ SMS เข้ามาตามรายการโทรทัศน์ต่างๆ ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าเป็นสื่อที่เล็ก แต่แนวโน้มจากนี้ไป ความสำคัญของสื่อใหม่ก็จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี มูลค่าตลาดของสื่อใหม่จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เช่น มูลค่าสื่อใหม่ในประเทศไต้หวันปีหนึ่งนั้นมีสูงถึงกว่าแสนล้านบาท นั่นหมายความว่ามีมูลค่ามากกว่าค่าโฆษณาทางโทรทัศน์ในประเทศไทย (อาจารย์อนุสรณ์ ศรีแก้ว คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต)
แต่หากจะตอบคำถามนี้ได้อย่างสมบูรณ์คงต้องคงต้องทราบความหมายของคำว่า “หลังสมัยใหม่ (Postmodernism)” ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ได้ อย่างสมบูรณ์
“หลังสมัยใหม่ (Postmodernism)” เพื่อให้พอมีความรู้มาตอบคำถามนี่ได้นั้น ทำให้ผมพอเข้าใจได้ว่า “หลังสมัยใหม่ (Postmodernism)” คือสิ่งที่ “มากกว่า เหนือกว่า” แบบแผนหรือว่าอุดมการณ์โดยทั่วไป ทำให้เป็นสิ่งที่ขาดซึ่งระบบแบบแผน โครงสร้างที่ชัดเจนแน่นอน ขาดซึ่งเป้าหมายไม่มีหลักการที่ตายตัวของมันเอง โดยเน้นใช้หลักจากความรู้สึกมากกว่าหลักการของเหตุผล แต่ความหมายดังกล่าวนี้เป็นเพียงความเข้าใจเพียงเสี่ยวหนึ่งของความหมายที่หลากหลายที่มีผู้เชี่ยวชาญต่างๆได้
จากการศึกษาของความหมายของคำทั้งสองทำให้ทราบได้ว่า สื่อใหม่(New media) มีคุณสมบัติแบบหลังสมัยใหม่ (Postmodernism) อย่างแท้จริงเนื่องจาก สื่อใหม่ (New media) เป็นสื่อที่ไม่มีโครงสร้าง พื้นฐานตายตัวที่แน่นอน เป็นสื่อที่ไม่สามารถใช้วีใด วิธีหนึ่งในการควบคุมดูแล หรือจัดการสร้างมัน มีสภาวะคล้ายกับสภาวะจำลอง เช่นการโพสข้อความลงในเว็บบอร์ดต่างๆโดยไม่สามารถทราบถึงตัวตนที่แท้จริงได้ โดยสามารถแสร้งเป็นตัวตนอีกลักษณะหนึ่งที่ไม่ใช้ตัวตนในสังคมได้ รวมทั้งสื่อใหม่ (New media)เป็นสื่อที่ขาดซึ่งเป้าหมายที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับแต่ละสื่อแต่ละเจ้าของที่มีความแตกต่างหลากหลายมาก เป็นต้น
คำตอบดังกล่าวนั้นอาจจะเป็นคำตอบในเชิงของแขนงการสื่อสารเพียงเท่านั้น แต่หากจะไปเปลี่ยนเทียบกับแขนงอื่นๆนั้น อาจะแตกต่างจากที่ผมตอบก็เป็นไปได้
โลกยุคการสื่อสารไร้พรมแดนในปัจจุบัน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทมากมายในชีวิตประจำวัน เราสามารถฝากถอนเงินสดกันได้มากยิ่งขึ้นโดยผ่านระบบ ATM แทนที่จะต้องเดินไปทำรายการยังธนาคารโดยตรงแบบสมัยก่อน การซื้อตั๋วหนังผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่หือรับจ่ายสินค้าบนอินเทอร์เน็ตที่มีให้เห็นกันจนชินตา ระบบการจัดการสำนักงานยุคใหม่ที่นำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เสมือนเป็นสำนักงานอัตโนมัติ มีการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันหลายสาขา ผู้บริหาร และพนักงานที่เกี่ยวข้องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อตัดสินใจดำเนินการได้อย่างทันท่วงที สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นแนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเป็นไปอย่างขยายตัวและนับวันเพิ่มมากขึ้น
คอมพิวเตอร์ ถือเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกันอย่างแพร่หลาย ในสมัยก่อนรูปร่างของคอมพิวเตอร์จะไม่เหมือนเครื่องพีซีที่เราเห็นในปัจจุบันนี้ ขนาดของคอมพิวเตอร์ในยุคนั้นค่อนข้างใหญ่ และมีน้ำหนักมาก การพกพาไปไหนมาไหนจึงไม่สะดวกนัก จึงนิยมใช้กันตามห้องปฏิบัติการใหญ่ๆหรือทำสงครามเป็นหลัก แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการเล็งเห็นประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ในกลุ่มผู้ใช้งานที่มีมากขึ้น จึงส่งผลให้ความนิยมมีมากขึ้นเป็นลำดับ จากอุปกรณ์ขนาดใหญ่มหึมา ได้มีการปรับเปลี่ยนให้มีขนาดเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด ความสามารถในการพกพาที่ง่ายก็เป็นอีกคุณสมบัติหนึ่ง ที่พบได้ในคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อีกทั้งระดับราคาก็ปรับตัวลงไปอย่างมาก สมัยก่อนคนที่จะมีคอมพิวเตอร์ต้องมีฐานะค่อนข้างดีพอสมควร หรือไม่ก็จะพบเห็นตามห้างร้านหรือบริษัทเพียงเท่านั้น เมื่อระดับราคาปรับตัวลดลง กลุ่มผู้ใช้จึงขยายวงกว้างมากขึ้น และแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน
ประกอบกับเทคโนโลยีของการสื่อสารและโทรคมนาคมที่ขยายตัวมากยิ่งขึ้น บทบาทการใช้งานคอมพิวเตอร์จึงได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้ จากเดิมที่คนใช้อยู่ในกลุ่มเล็กๆ ก็เริ่มมีการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันมากขึ้น มีการเริ่มใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย ข้อมูลสามารถเชื่อมถึงกันได้แค่ปลายนิ้วสัมผัส การติดต่อสื่อสารทำได้แบบไร้พรมแดน ผู้ใช้อีกซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้อีกซีกโลกหนึ่งได้อย่างง่ายดาย ก่อให้เกิดสารสนเทศที่มีประโยชน์มากมายมหาศาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น