หลักการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์



ทำความเข้าใจก่อน

ก่อนการเลือกซื้อคงทำมาทำการบ้านกันสักนิดก่อนว่า เราต้องการซื้อคอมพิวเตอร์ไปใช้งานในลักษณะใด เช่น การซื้อเพิ่มนำมาเสนอสินค้าหรือบริการ การซื้อเพื่อนำไปใช้ในสำนักงาน นอกจากนี้คงต้องคำนึงถึงโปรแกรมในการใช้งานว่าต้องการใช้งานในลักษณะใดเช่น การใช้งานในส่วน office เล่นเกมส์การใช้งานด้านกราฟฟิค การตัดต่อวีดีโอ เป็นต้น 

    ใช้ในสำนักงาน (ใช้โปรแกรม Office, และเล่นเน็ต)

  1. หน่วยประมวลผล - CPU: Intel Celeron
  2. หน่วยความจำ - RAM DDR SDRAM 128 หรือ 256 mb
  3. ฮาร์ดดิสก์ - Harddisk 40 gb
  4. ซีดีรอม - CD-ROM 52x
  5. การ์ดเสียง - Sound Card on board
  6. จอภาพ - Monitor 15" หรือ 17"
  7. แลนการ์ด - LAN Card

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์




                เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้นั้นจะต้องประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วนใหญ่ๆ ด้วยกัน คือส่วนแรกนั้นจะเป็นอุปกรณ์ต่างๆ หรือที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) เช่น จอภาพ ซีพียู คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ส่วนที่สอง เรียกว่า ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึงโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ ส่วนสุดท้ายเรียกว่า พีเพิลแวร์ (Peoplewareซึ่งหมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เช่น พนักงานป้อนข้อมูล, นักเขียนโปรแกรมนักวิเคราะห์ระบบ ทั้งสามส่วนนี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ถ้าขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะไม่สามารถใช้งานได้เลย

            1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
                หมายถึงส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยหน่วยต่างๆ 4 หน่วยดังนี้
                                1.1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
                                1.2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
                                1.3. หน่วยความจำ (Memory Unit)
                                1.4. หน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output Unit)
                สำหรับการทำงานของแต่ละหน่วยสามารถเขียนแผนภาพได้ดังนี้

ชนิดของคอมพิวเตอร์



พัฒนาการทางคอมพิวเตอร์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากอดีตเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้หลอดสุญญากาศขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และอายุการใช้งานต่ำ เปลี่ยนมาใช้ทรานซิสเตอร์ที่ทำจากชินซิลิกอนเล็ก ๆ ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ และผลิตได้จำนวนมาก ราคาถูก ต่อมาสามารถสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนหลายแสนตัวบรรจุบนชิ้นซิลิกอนเล็ก ๆ เป็นวงจรรวมที่เรียกว่า ไมโครชิป (microchipและใช้ไมโครชิปเป็นชิ้นส่วนหลักที่ประกอบอยู่ในคอมพิวเตอร์ ทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง

ไมโครชิปที่มีขนาดเล็กนี้สามารถทำงานได้หลายหน้าที่ เช่น ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เป็นหน่วยควบคุมอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก หรือทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์ หมายถึงหน่วยงานหลักในการคิดคำนวณ การบวกลบคูณหาร การเปรียบเทียบ การดำเนินการทางตรรกะ ตลอดจนการสั่งการเคลื่อนข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หน่วยประมวลผลกลางนี้เรียกอีกอย่างว่า ซีพียู (Central Processing Unit : CPU)

การพัฒนาไมโครชิปที่ทำหน้าที่เป็นไมโครโพรเซสเซอร์มีการกระทำอย่างต่อเนื่องทำให้มีคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเกิดขึ้นเสมอ จึงเป็นการยากที่จะจำแนกชนิดของคอมพิวเตอร์ออกมาอย่างชัดเจน เพราะเทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอาจมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามพอจะจำแนกชนิดคอมพิวเตอร์ตามสภาพการทำงานของระบบเทคโนโลยีที่ประกอบอยู่และสภาพการใช้งานได้ดังนี้

การแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์

ความรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์



ปัญหาที่เกิดขี้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมีตั้งแต่เล็กๆน้อยๆ ไปจนถึงความบกพร่องอย่างร้ายแรงที่จะทำให้งานของเราที่อุตส่าห์ทำเป็นเดือนๆ หายไปได้ในพริบตา หรือไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นได้อีกเลย วิธีการที่ดีที่สุดในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์นั้นก็คือ ป้องกันก่อนที่มันจะเกิดขึ้น 
ขั้นตอนในการป้องกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูลความสำคัญมากๆ ในเรื่องของการเก็บข้อมูล คือ ไม่ให้มีอุบัติเหตุซึ่งจะทำให้มันมีค่าที่สุด ถึงแม้ว่ามันอาจจะไม่ใช่เป็นอุปกรณ์ที่แพงที่สุดในเครื่องของเราก็ตามเป้าหมายของการป้องกันคือ เก็บข้อมูลของเราให้ปลอดภัย มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

โลกคอมพิวเตอร์ของนักเรียนประถม


โลกของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันของนักเรียนประถม


นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 เริ่มเรียนการพัฒนา Homepage เพราะครูเริ่มบรรจุ เข้าไปในหลักสูตร หลาย ๆ คนเริ่มเขียน CGI และคิดดูสิครับ อีก 6 ปี จึงจะจบมัธยมปลาย และอีก 4 ปีกว่าจะสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา นักเรียนประถมเหล่านี้มีเวลาถึง 10 ปี ที่จะก้าวสู่โลกของนักคอมพิวเตอร์ เมื่อหันกลับมามองตัวเราว่า เรามีเวลาศึกษาหาความรู้อีกเท่าใด และมีปัจจัยอะไรส่งเสริม ให้เราเรียนรู้ เทคโนโลยีรอบตัวเราอยู่บ้าง (หลายคนอาจไม่มีเหตุผลที่จะเรียนรู้) หรือจะรอให้เด็กรุ่นหลัง มาบอกว่า เราควรจะเรียนรู้อะไรต่อไป จึงจะเป็นนักคอมพิวเตอร์ในสังคม เทคโนโลยี ในอีก 10 ปีข้างหน้าได้ .. ผมคงเป็นคนหนึ่งที่จะไม่รอเวลานั้น แต่จะขอก้าวไปพร้อม กับเทคโนโลยี ด้วยการเรียนรู้ทุกอย่างรอบตัว เท่าที่จะทำได้ .. เพราะรู้ว่าพัฒนาการของเด็กประถมนั้น เร็วเพียงใด
หลาย ๆ คน ถามว่าเราต้องเรียนรู้ทุกอย่างเลยหรือ? คงเป็นไปไม่ได้ที่จะศึกษาทุกอย่าง ผมเองก็เป็นผู้เรียนรู้ และศึกษาหลาย ๆ เรื่อง สิ่งที่ผมศึกษา คือสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้ และไม่ยากจนเกินไป หากจะแนะนำท่านว่า จะศึกษาเรื่องอะไรดี ก็คงต้องบอกว่า ศึกษาทุกเรื่องที่ท่านสนใจ ที่มีแหล่งให้ศึกษาหาความรู้ได้โดยง่าย